หน้าเว็บ

ความรู้เกี่ยวกับ กรดไขมัน และ ไตรกลีเซอไรด์


คลอโรฟิลล์บริสุทธิ์ ที่วงการแพทย์ทั่วโลกยอมรับ
คลอโรฟิลล์บริสุทธิ์ 100% รายแรกของโลก ที่วงการแพทย์ยอมรับ ต้องของ
บริษัท บ้านสมุนไพรชันมงคล จำกัด ผู้นำเข้าเจ้าเดียวในประเทศไทย

            แม้ว่าเจ้าตัวร้ายอย่างไขมันจะถูกมองว่าเป็นส่วนเกินและเป็นบ่อเกิดของโรคภัยต่างๆ มากมาย แต่แที่จริงแล้วหากเข้าใจ และรู้จักเลือกรับประทานในสัดส่วนปริมาณที่เหมาะสม ไขมันก็มีประโยชน์ต่อร่างกายเหมือนกัน เพราะไขมันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน อีกทั้งยังเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนและวิตามิน (Fatty Acid) อีกด้วย ไขมันสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acid)
            พบมากใจอาหารประเภทเนื้อสัตรว์ใหญ่ สัตรว์ปีก เนย มะพร้าว ปาล์ม ไข่แดง เนย กะทิ ซึ่งหากรับประทานมากเกินไปอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันในเลือดสูง ร่างกายเราสามารถผลิตไขมันอิ่มตัวได้เอง จึงไม่จำเป็นต้องรับเพิ่มจากอาหาร เพราะยิ่งบริโภคมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่มปริมาณคลอเลสเตอรอลในเลือดมากขึ้นเท่านั้น
กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acid)
            เป็นไขมันที่ร่างกายสามารถนร้างได้เอง และรับเข้าไปโดยการรับประทานเช่นกัน แต่อาจสะสมตลอด จนมีโอกาสเกิดอันตรายต่อสุขภาพและหัวใจน้อยกว่า กลุ่มไขมันสำคัญ ได้แก่ โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 พบในน้ำมันพริมโรส น้ำมันเมล็ดข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันมะกอก เป็นต้น
ไขมันดี
            ไขมันดี หรือ HDL ย่อมาจากคำว่า high density lipoprotein คือ ไขมันที่มีความหนาแน่นสูง เป็นไขมันที่ดีสำหรับหลอดเลือดแดงเพราะจะป้องกันไม่ให้ไขมันที่ไม่ดี คือ คลอเลสเตอรอล,ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL ไปพอกสะสมในหลอดเลือดแดง ถ้ามีระดับ HDL ในเลือดต่ำ ก็จะเพิ่มโอกาส เพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น โรคหลอดเลือดสมองหรือ หลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น ระดับ HDL ปกติไม่ต่ำกว่า 40 มก./ดล. มาลดคลอเลสเตอรอลสูงด้วย วิธีเพิ่มไขมันดี HDL ในกระแสเลือด โดยการบริโภค อาหาร 10 ชนิดดังนี้
เมล็ดถั่วเหลือง 1 ถ้วยตวง มีไขมันที่ดีต่อร่างกาย 15 กรัม
ปลาสลิด 1 ตัว มีไขมันที่ดีต่อร่างกาย 4-5 กรัม
อโวคาโต ¼ ถ้วย มีไขมันที่ดีต่อร่างกาย 3.5 กรัม
ไขมันร้าย
            ไขมันโคเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) คืออะไร และสัมพันธ์กับโคเลสเตอรอลรวมอย่างไร
LDL เป็นโคเลสเตอรอลในร่างกายชนิดหนึ่ง ย่อมาจากคำว่า low density lipoprotein แปลว่า ไขมันที่ความหนาแน่นต่ำ เนื่องจากโคเลสเตอรอลในร่างกาย ประกอบขึ้นจากไขมันหลายชนิด ได้แก่แอลดีแอล. (LDL), เอ็ชดีแอล ( HDL), ไตรกลีเซอไรด์ (Tg) โดยสัดส่วนของไขมันต่างๆ ที่
ประกอบกันขึ้นเป็นโคเลสเตอรอลรวมมีดังนี้ 
เฟรนซ์ฟรายซ์ มีปริมาณไขมันร้ายต่อร่างกาย 6 กรัม
น้ำมันปาล์ม มีปริมาณไขมันร้ายต่อร่างกาย ร้อยละ 48
น้ำมันหมู มีปริมาณไขมันร้ายต่อร่างกาย ร้อยละ 38

ไตรกลีเซอไรด์ ผู้ช่วยของผู้ร้ายตัวจริง
            ไตรกลีเซอไรด์ คือ สารอาหารประเภทไขมันที่ได้จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป และจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายโดยตับและลำไส้เล็ก เป็นตัวสร้างไตรกลีเซอไรด์ 1 กรัม ให้พลังงาน 9 แคลลรี่ ไตรกลีเซอไรด์ละลายอยู่ในเลือดได้โดยรวมตัวกับโปรตีน ดูดซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย บางส่วนถูกสะสมไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน
ปัญหาและอันตรายจากโรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดทำให้ 
1. หลอดเลือดแดงแข็งตัว ถ้าเกิดที่หัวใจทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเกิดที่สมองทำให้เป็นอัมพาต
2. ทำให้เกิดอาการร่วมคือ ปวดท้อง ตับโต ม้ามโต และทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ปวดข้อ
สาเหตของการเกิดไตรกลีเซอไรด์สูง 
1. กินอาหารไม่ถูกส่วน โดยเฉพาะกินอาหารที่มีไขมันมากกินน้ำตาลทรายหรือขนมหวานเป็นปริมาณมากเกินไป
2. เกิดจากโรคภัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของระดับไขมันในร่างกาย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไต การดื่มเหล้าเป็นประจำ และขาดการออกกำลังกาย
3. เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับไลโปโปรตีน เช่น ร่างกายขาดเอนไซด์ที่จะย่อยไตรกลีเซอไรด์
ทราบได้อย่างไรว่าจะเป็นโรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดหรือไม่
โดยทำการเจาะเลือดตรวจวัดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่ง
การตรวจ 
1. งดอาหารทุกชนิด ก่อนเจาะเลือดอย่างน้อย 12 ช.ม.
2. ในคนปกติจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่เกิน 150 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร
แหล่งอาหารที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
1. อาหารทุกชนิดที่มีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์
2. น้ำตาล อาหารรสหวานจัด ขนมหวานทุกชนิด เนื่องจากร่างกายสามารถนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์
การป้องกันและบำบัดรักษา
1. ลดปริมาณอาหารไขมันที่รับประทานให้น้อยลง โดยโดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ เน้นรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหาร
2. ลดปริมาณการกินข้าว แป้ง น้ำตาลทราย หรือขนมของหวานต่าง ๆ ให้น้อยลง กินในปริมาณที่พอควรแก่ความต้องการของ
ร่างกายเท่านั้น รับประทานให้ครบอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่
3. ควรลดน้ำหนักตัวในรายที่อ้วนมากเกินไป แต่ไม่ควรใช้ยาหรืออดอาหาร แต่ควรใช้วิธีโภชนาการบำบัด
4. หมั่นออกกำลังกายทุกวันอย่างสม่ำเสมอ หรือว่าทานชาเขียวเพื่อทดแทนการออกกำลัง
5. งดดื่มเหล้า เนื่องจากเหล้าจะกระตุ้นให้มีการสร้างไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น
6. แพทย์จะให้ยาลดไตรกลีเซอไรด์ รับประทานในรายที่จำเป็นควบคู่กับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
            เมื่อไตรกลีเซอไรด์สูงคาดว่า คลอเลสเตอรอลรวมก็น่าจะสูงด้วย (เพราะมันเกี่ยวข้องกัน)ถ้าเวลาตรวจเลือดเขาตรวจ LDL ให้ ให้ระวังค่านั้นด้วย ไม่ควรเกิน 130 mg/l  
·       ผลิตโดย บริษัท ดี ซูซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด สหรัฐอเมริกา
·       เริ่มการผลิต เมื่อปี ค.ศ. 1938 – ปัจจุบัน และวงการแพทย์ ยอมรับเฉพาะคลอโรฟิลล์ที่มีความบริสุทธิ์ต้องชนิดละลายน้ำได้ และความบริสุทธิ์ไม่ต่ำกว่า 95% เท่านั้น
·       ขนาดบรรจุ 473 มิลลิกรัม ราคาสมาชิก 2,500 บาท
·       ผ่านการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.)
·       เลขทะเบียน อย.21-4-00449-1-0001
·       สอบถามข้อมูลทีมงาน อ.โตหนุ่ม หรือ คุณพลอยนภัส
·       DTAC :  083-1115976,087-5373697  
·       AIS :  087-0556659   HOME :  038-067057